บทความแปลจาก : https://www.itprotoday.com/no-codelow-code/what-are-low-codeno-code-platforms#close-modal

ขอขอบคุณ Thank you to the sources above

เรื่องราวของ Low-code/no-code ได้ถูกกล่าวถึงอย่างมากนับตั้งแต่มี COVID-19 ทั้งๆ ที่มันมีมาก่อนแล้วก่อนที่มันจะถูกเอามาใช้งาน บทความนี้จะพูดถึงข้อดีข้อเสียของเทคโนโลยีนี้

Richard Hay | Oct 20, 2021

Low-code/no-code แพลตฟอร์ม เป็นเครื่องมือแบบกราฟฟิก ใช้กันมากโดยผู้ใช้แนวนักธุรกิจและนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อสร้างแอพพลิเคชั่นและระบบงานอัตโนมัติโดยอาศัยการลากวาง ๆ เจ้าตัวฟังก์ชั่นต่างๆ โดยใช้ความรู้เรื่องภาษาการเขียนโค้ดเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องใช้เลยก็สามารถทำการสร้างแอพฯ ได้

Low-code/no-code แพลตฟอร์ม จะปรับตัวเข้ากับระบบบริการคลาวด์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อการใช้งานโดยหน่วยงานเพื่อปรับให้เข้ากับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ด้วยวิธีการนี้จะเป็นการทำให้นักพัฒนาระดับพลเมืองทั่วไปจะทำการสร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยนักพัฒนาตามแบบแผนดั้งเดิม หรือตามขั้นตอนวงจรการพัฒนาแอพพลิเคชั่น

ในบทความที่แปลมานี้ เขาได้นำเราไปสำรวจว่า Low-code/no-code แพลตฟอร์มต่างๆ นั้น มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์ม ก็มีออพชั่นต่างๆ ให้เลือกใช้แตกต่างกันไป

What Are Low-Code/No-Code Development Platforms?

แล้วพวกแพลตฟอร์ม Low-code/no-code เหล่านี้คืออะไรกันแน่ ?Low-code/no-code platforms definition presented by ITPro Today

บรรดาความสามารถต่างๆ ของ Low-code/no-code เหล่านี้ได้ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างกว้างขวางโดยบริษัทนักพัฒนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กๆ ที่ต้องการจะตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะอย่าง (niches) ไปจนถึงรายใหญ่ๆ ที่ให้บริการกันระดับองค์กร ก็ออกแพลตฟอร์ม Low-code/no-code มาเช่นกัน

ผู้เขียนบทความได้ทำการศึกษาและอธิบายถึง Low-code/no-code ที่มีอยู่ใน  MicrosoftGoogle และ Amazon มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมันมีความสามารถที่จะเชื่อมข้ามไปยังผลิตภัณฑ์และบริการของค่ายอื่น ๆ คงมีเพียง Amazon ที่ดูเหมือนจะขาดความสามารถที่จะไปเชื่อมต่อกับ Low-code/no-code ค่าอื่นๆ ไป

การจะเลือกใช้ Low-code/no-code อะไร ก็มักจะขึ้นอยู่กับว่าในปัจจุบันองค์กรมีข้อมูลอะไร เครื่องมืออะไรใช้อยู่แล้ว อย่างเช่น บริการต่างๆ ที่มีอยู่ของ 3 ค่ายใหญ่เหล่านี้ มันจึงเป็นการง่ายที่จะเลือกใช้ตัวเลือกจากในระบบนิเวศเดียวกัน แทนที่จะไปใช้เครื่องมืออื่นๆ ข้ามไปข้ามมา

เมื่อตัดสินใจที่จะเลือกเครื่องมือใดแล้ว การสร้างงานโดยการใช้เครื่องมือ Low-code/no-code เหล่านั้นก็จะเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา

How Does Low-Code/No-Code Work?

การพัฒนา Low-code/no-code ออกมานั้น วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อที่จะให้เป็นการใช้งานของคนทำงานที่มีความรู้เข้าใจงานนั้นๆ ดีอยู่แล้ว พวกเขาคนที่คุ้นเคยกับกระบวนการและการไหลของงานภายในองค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับแผนก ฝ่าย ส่วนอะไรต่างๆ โดยที่ไม่ต้องมีประสบการณ์เรื่องโค้ดอะไรเลย

สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการโค้ดก็จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นพื้นฐานต่างๆ ได้ และสำหรับคนที่มีพื้นฐานการเขียนโค้ดแล้วก็จะสามารถที่จะลงลึกลงไปในระดับโค้ดได้มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจพิจารณาคือ การจับคู่กันทำงานระหว่างนักพัฒนาทั่วไปกับนักพัฒนาระดับประสบการณ์ นักพัฒนาสมัครเล่นสามารถจัดวางชิ้นส่วนพื้นฐานของแอพหรือระบบอัตโนมัติได้ และให้นักพัฒนามืออาชีพทำการปรับแต่งในส่วนที่จำเป็นเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถใช้แอพจาก Low-code ได้ แนวคิดการทำงานร่วมกันแบบนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาโครงการได้เร็วกว่าการพยายามค้นหาแอพในตลาดที่ตรงกับความต้องการ เพียงแค่ระบุสเปคและความสามารถที่ต้องการ องค์กรก็จะมีแอพไว้ใช้งานได้เอง หรือว่าจ้าง outsource มาขยายต่อตามความต้องการอีกเล็กน้อย

แพลตฟอร์ม Low-code และ no-code ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคการให้ กราฟฟิก user interface เพื่อที่จะลากวางแอพและ workflow ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยการทำการเชื่อมโยง block ของ services ต่างๆ เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การใช้พื้นที่ในระบบคลาวด์ บัญชีอีเมล์ หรือแพลตฟอร์มทำงานร่วมกัน นักพัฒนาสมัครเล่นก็สามารถที่จะรวบรวมเอาข้อมูลสำคัญมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา low-code หรือ no-code แอพพลิเคชั่น

เป้าหมายของแพลตฟอร์ม low-code/no-code คือ การขับเคลื่อนการสร้างสรรและบ่มเพาะทั้งภายในองค์กรและในสาธารณะ ที่จะเชื่อมต่อแอพ และ workflow ต่างๆ เข้าด้วยกันลงไปในระดับต่างๆ ให้ได้มากที่สุด (แปลว่าต้องการลดงานต่างๆ ที่ทำซ้ำๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุด)

Low-code และ no-code สามารถที่จะใช้เป็นปฏิบัติการขั้นพื้นฐานในการสร้าง แอพฯใหม่ๆ หรือ กระบวนการอัตโนมัติใหม่ และหลังจากนั้นให้นักพัฒนาทำงานต่อยอดเชิงลึกต่อไปเป็นแอพขั้นสุดท้าย

What Is the Difference Between Low-Code and No-Code Development Platforms?

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Low-code/no-code ?

ไม่ว่าจะเรียกมันว่าอะไรก็ตามแต่ แต่ทั้ง 2 อย่างนี้ต่างก็พัฒนามาจากพื้นฐานของการโค้ดของผู้ผลิตอยู่ดี แล้วแต่ว่าจะมีการแสดงให้ผู้ใช้รับรู้รับทราบเข้าถึงโค้ดมากน้อยแค่ไหน แล้วแต่แนวคิดความต้องการในการพัฒนาของแพลตฟอร์มนั้นๆ

no-code จะเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโค้ด, แต่ในบางกรณี low-code platform สามารถใช้งานโดยนักพัฒนาสมัครเล่นก็ได้ ไม่ใช่ทุก ๆ Low-code project ที่ต้องทำการเขียน code เพิ่มเติมจริง ๆ ในงานนั้น ๆ

แต่สำหรับคนที่เป็นนักพัฒนามีความรู้เรื่อง โค้ด ก็จะสามารถใช้งานได้ทั้ง 2 แบบ จะเห็นว่า low-code/no-code เหมือนเป็นตัวบ่งชี้ระดับความชำนาญของผู้ใช้นั่นเอง

Benefits of Low-Code and No-Code Development Platforms

ข้อดีของ low-code/no-code คือ มาจากความจริงที่ว่าแอพนี้ถูกสร้างออกมาจากคนที่เข้าใจกระบวนการ จึงไม่จำเป็นต้องไปเขียน scope of work อะไรที่มันยาวๆ อีก ก็จะรู้และวางงานได้เลยว่าแอพนี้หรือกระบวนการนี้จะเดินไปในทิศทางไหน

ด้วยกระบวนการนี้ low-code แพลตฟอร์มจึงเป็นกระบวนที่มีต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำ

ความพยายามและข้อได้เปรียบนี้ เป็นการทะลายกำแพงการพัฒนาแอพฯ แบบเดิม ๆ และขับเคลื่อนลงไปสู่ระดับต่ำที่สุดขององค์กร และพยายามที่จะให้ low-code/no-code เข้าถึงและสร้างได้โดยพนักงานคนที่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตามคำสั่งงานได้แบบตรงไปตรงมา และมีข้อมูลเพียงพอที่จะเชื่อมต่อไปยังข้อมูลและบริการที่ต้องการในโครงการ

Cons of Low-Code and No-Code Development Platforms

นอกเหนือจากข้อดีของ low-code/no-code แล้ว ใช่ว่าจะเป็นทุกๆ โครงการที่ออกมาจาก low-code/no-code จะเป็นเรื่องที่ง่าย

ความจริงก็คือ มันก็มีข้อเสีย ในการพัฒนาแบบ low-code/no-code ด้วยเช่นกัน

ในการใช้แพลตฟอร์ม low-code นี้ ต้องการคนที่ไม่เพียงแต่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของแอพที่จะถูกสร้างออกมา แต่ยังต้องเป็นคนที่มีความชำนาญพิเศษในการคิดเชิงวิกฤติ (critical thinking skill) ในการที่จะต้องเข้าใจว่าจะเลือกใช้องค์ประกอบไหน เป็นต้น

Low-Code Development Platform Examples

ตัวอย่างของ Low-code :

No-Code Development Platforms Examples

ตัวอย่างของ no-code tools:

The Future of Low-Code/No-Code Development Platforms

ตามที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า low-code/no-code ได้ถูกคิดค้นออกมาก่อนที่จะมีโควิด-19 ซึ่งในอนาคตข้างหน้าแล้ว สิ่งแวดล้อมในการทำงานจะเป็นแบบ Remote มากขึ้น ดังนั้นแนวคิด low-code จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

แต่ผลของโรคระบาดได้เร่งรัดความสามารถของ low-code/no-code ให้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นเครื่องมือการทำงานร่วมกันก็ได้เติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วก็เพราะผลของภาวะโรคระบาดเช่นกัน Low-code/no-code ก็ได้พัฒนาแนวคิดให้เครื่องมือมีประโยชน์มากขึ้น และยังผลให้ต้นทุนในการพัฒนาต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ.

เราสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า low-code/no-code ถูกออกแบบมาเพื่อสนองตอบคนที่ต้องการสร้างแอพ สร้างงานอัตโนมัติ เพื่อใช้งานใช้การในระดับต่างๆ มันแปลได้ว่า งานการพัฒนาแบบเดิมๆ จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องมือลากวางๆ ไปส่วนหนึ่ง และจะมีเพียงนักพัฒนาที่รู้ลึกเท่านั้นที่จะสามารถเขียนโค้ดต่อยอดจาก low-code ได้

ดังนั้นการแสวงหาวิธีการที่ต้นทุนต่ำที่สุดและสร้างงานได้อย่างดี จึงเป็นคำตอบสุดท้ายของวงการ

Low-code/no-code จะตอบปัญหาอะไรในอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ต้องวัดใจกันในไม่ช้านี้

Views: 15