ที่มา : https://www.tech.gov.sg/media/technews/doubling-down-on-cloud-to-deliver-better-government-services

Enterprise Architecture

ภายในปี 2021 มีการลทุนและทำสัญญาด้วยมูลค่ากว่า 870 ล้านเหรียญ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบขึ้นมาจำนวนมากของระบบ Cloud เชิงพานิชย์

สิงค์โปร์กำลังพยายามทุ่มเทขับเคลื่อนคอนเซ็พ “Cloud-first” เพื่อที่จะช่วยให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆเพื่อให้บริการประชาชนให้มากขึ้น

ในปี 2018, รัฐบาลได้ประกาศแผนระยะ 5 ปี เพื่อทำการเคลื่อนย้ายระบบ IT จากระบบ On-premise ไปสู่ระบบ Cloud เพื่อจะช่วยให้สามารถพัฒนาระบบให้บริการและการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น.

นับตั้งแต่ตอนนั้นมา ก็ได้มีการเคลื่อนย้ายระบบที่ถือว่าสำคัญ “restructed” เข้าไปสู่ระบบ cloud. ในปีนี้ได้มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นกว่า 870 ล้านเหรียญ เพื่อกระตุ้นแผนการดังกล่าว

หนึ่งในผลประประโยชน์ของระบบ cloud คือ การที่จะสามารถเชื่อมต่อระบบนิเวศไปยังเครือข่ายพันธมิตร รวมไปถึงผู้ใช้งานและนักพัฒนาเข้ากับหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาล

การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลสามารถพัฒนาระบบให้บริการแก่ประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

หน่วยงานของรัฐจะสามารถพัฒนาและทดสอบระบบต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วในแบบ real-time ซึงจะช่วยยกระดับคุณภาพการบริการและความรวดเร็วในการให้บริการต่อธุรกิจต่างๆ

ด้วยระบบความปลอดภัย การบริการของรัฐ และการทำงานบนระบบ cloud จะช่วยให้สามารถพัฒนาระบบความปลอดภัยเข้าไปสู่ระบบการพัฒนาทาง IT

ด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้ธุรกิจก้าวมาสู่ระบบมากขึ้นและเป็นดีต่อระบบการจัดเก็บภาษี

จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการเคลื่อนย้ายจากการพัฒนาในแบบ monolithic ไปสู่ระบบ microservices-การใช้ฟังก์ชั่นความสามารถบริการ แทนทีการให้บริการเพียงจุดเดียว เพื่อเหตุผลในการรองรับการขยายตัว ความคล่องตัวและเสถียรภาพ

เมื่อระบบสมบูรณ์เต็มที่ ระบบภาษีจะเชื่อมโยงเข้ากับระบบบัญชีของธุรกิจได้ในทันที

นอกจากนี้ ยังจะเป็นการรวมเอาระบบบริการอื่นๆ เข้ามาร่วม เช่น ระบบสื่อสาร ระบบมัลติมีเดีย ระบบมิเตอร์น้ำ ไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นต้น

โดยคาดการณ์ว่าระบบน้ำประปาอัตโนมัติจะมีใช้ในปี 2021 แน่นอนจะรวมไปถึงมาตรการการประหยัดน้ำ

Building blocks for development

ระบบการบริหารจากส่วนกลางเช่นนี้จะทำให้สามารถพัฒนา บำรุงรักษาระบบต่างๆ ได้ง่ายรวดเร็ว

แต่สิ่งที่สำคัญคือ ระบบ ความปลอดภัยที่จะต้องทำควบคู่ไปตั้งแต่ต้น และที่สำคัญข้อมูลที่สำคัญทั้งภาครัฐและประชาชนจะอยู่ในระบบ cloud ได้อย่างไร

เพื่อให้เรื่องนี้สำเร็จและปลอดภัย การออกแบบจึงต้องเป็นไปใน หลักการ security-by-design กล่าวคือ จะต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยในทุกขั้นตอน

การย้ายไปสู่ระบบ cloud ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถของระบบ cloud ของผู้ผลิต ทั้งยังสามารถขยายตัวได้รวดเร็ว

สิงค์โปร์จะขับเคลื่อน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าร่วมโครงการกันมากขึ้น

การพัฒนาจะเน้น หลักการ Continuous Integration and Continuous Delivery (CI/CD), ที่นักพัฒนาสามารถปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง สามารถทดสอบและใช้งานได้ทันที

สำหรับประเทศไทย เราต้องมาติดตามกันว่า เราจะพัฒนา EA บนระบบ cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยได้อย่างไร

Views: 45