Digital Park Thailand

๑. เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑/
๒๕๖๐ โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติให้
เห็นชอบต่อหลักการและแนวทางการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และ
มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงฯ) จัดท าการศึกษาความเป็นไปได้ของ
การจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงจัดท าแผนแม่บทการขับเคลื่อนการ
ด าเนินงานของเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ในการนี้ กระทรวงดีอีได้ก าหนดการจัด
ท าการศึกษาออกเป็น ๒ ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ ๑ การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตส่งเสริม
อุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และ ระยะที่ ๒ แผนแม่บทการด าเนินงานขับเคลื่อน การออกแบบ
รายละเอียดการก่อสร้าง การบริหารจัดการพื้นที่ และการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้
กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จ ากัด (มหาชน) (CAT) ร่วมกับการนิคม
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดท ารายงานกาศึกษาระยะที่ ๑ “การศึกษาความเป็นไปได้ของ
การจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล” เพื่อน าเสนอต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องใน
การขอประกาศ“เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล” พร้อมทั้งน ารายงานผลการศึกษา
ดังกล่าวเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องต่อไป

๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๒.๑ ยกระดับขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย สนับสนุน ส่งเสริมเทคโนโลยี
และนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไอซีทีเดิมให้เป็นอุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New SCurve Digital Industry)ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิด
การถ่ายทอดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาค
ตะวันออก โดยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบอัตโนมัติในราคาที่เหมาะสม
และสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรรมในพื้นที่ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการสร้างอุตสาหกรรม
ใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
๒.๒ ดึงดูดการลงทุนและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน ในธุรกิจ
ดิจิทัลที่ส าคัญของภูมิภาค พร้อมกับเชื่อมโยงอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยกับระบบการค้าของโลกโดย
ผ่านระบบห่วงโซ่การผลิตของโลก โดยมุ่งเน้นเรื่องของการเป็นประตูการค้าให้กับประเทศอาเซียน
ชั้นใน ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ลาว พม่า (CLMV)ด้วยการเป็นศูนย์กลางของการออกแบบอุปกรณ์
และระบบอัจฉริยะของ CLMV ผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล (Center of Digital Economy:
CoDE) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศและส่งเสริมให้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็น
ศูนย์กลางการค้าการลงทุนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
๒.๓ ส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Tech Startup) เปลี่ยนบทบาทของการ
เป็นประเทศผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสใน
ตลาดโลก และเป็นพื้นฐานรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ทั่วประเทศในอนาคต

๒.๔ สร้างบุคลากรดิจิทัลที่เพียงพอและมีคุณภาพส าหรับนักลงทุนและสามารถรองรับการ
พัฒนาประเทศในอนาคต ตลอดจนเป็นศูนย์กลางก าลังคนดิจิทัล (Digital Workforce Hub) ของ
ภูมิภาคอาเซียน

๒.๕ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูล
ของอาเซียน (Data Hub) ขยายโครงข่ายเคเบิลใต้น้ าให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออก
ต่างประเทศของอาเซียนชั้นในกับยุโรปและอเมริกาในลักษณะของ One Belt One Road และ
เชื่อมต่อสู่ประเทศจีนผ่านฮ่องกงในลักษณะของ Pan Pearl River Delta (PPRD) เพื่อให้ระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนและเป็นประตูสู่การค้าในอาเซียนชั้นใน

๓. ขอบเขตการด าเนินงาน
๓.๑ กระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีของธุรกิจดิจิทัลเดิมทั่ว
ประเทศทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบบริการที่อาศัยการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่รองรับ
กับการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Pervasive Intelligent Technology Architecture) ควบคู่กับการ
จับคู่ธุรกิจดิจิทัลขนาดเล็กกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง ๙ อุตสาหกรรม
เพื่อให้ค าแนะน าช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
๓.๒ สร้างเครือข่ายนักลงทุนระดับภูมิภาคและดึงดูดธุรกิจดิจิทัลระดับโลก (Digital Global
Player) เข้ามาลงทุนในพื้นที่ควบคู่กับการจัดให้มีกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับธุรกิจดิจิทัลไทย
โดยจัดท ามาตรการส่งเสริมทั้งทางภาษีและมิใช่ภาษี ตลอดจนสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุน
ภายในพื้นที่
๓.๓ ส่งเสริมให้ Digital Park Thailand เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของภูมิภาค
อาเซียน โดยการพัฒนาระบบเคเบิลใต้น้ าและระบบดาวเทียมสื่อสาร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและ
พัฒนาในธุรกิจดิจิทัลใหม่ที่มีความส าคัญในอนาคต เช่น ธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร
๓.๔ ส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Tech Startup) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิด
อุตสาหกรรมดิจิทัลที่เป็น New-S Curve Digital Industry ด้วยการสนับสนุนระบบนิเวศที่เอื้อต่อการ
เติบโตของธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการจัดตั้งชุมชนนวัตกรรมดิจิทัลที่สะดวกและเป็นศูนย์รวมของ
เครือข่ายการลงทุนของนักลงทุน (Venture Capital & Angel Funding) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรร
รมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๓.๕ สร้างก าลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อรองรับ
อุตสาหกรรมใหม่ในอนาคต โดยมีแนวทางและมาตรการพัฒนาก าลังคนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
โดยในระยะสั้นจะมุ่งเน้นให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลต่างประเทศกับ
บุคลากรดิจิทัลไทย รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างผู้ผลิตเทคโนโลยีดิจิทัลกับอุตสาหกรรมที่เป็น
ผู้ใช้งาน ผ่านการด าเนินงานของสถาบันธุรกิจดิจิทัล )Digital Academy( ขณะที่ระยะยาวมุ่งเน้นการ
สร้างก าลังคนรุ่นใหม่ที่สร้างนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูง โดยส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ท างานร่วมกับ
บริษัทเอกชนในลักษณะของ Work-Integrated Labor (WIL)

๓.๖ เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล นักธุรกิจ และนักพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลที่ส าคัญ
ของภูมิภาค ด้วยการสร้างระบบนิเวศของการเป็นชุมชนดิจิทัลขนาดใหญ่ เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ
ด้านธุรกิจดิจิทัลของภูมิภาค และก าหนดให้เป็นเขตผ่อนปรนกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ
การคิดค้นและสร้างนวัตกรรมดิจิทัล (Sandboxed for Regulatory Adjustment) เพื่อให้เป็นสนาม
ทดสอบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ ระบบอัตโนมัติ แพลตฟอร์ม และแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
อัจฉริยะ

ดาวน์โหลดรายงาน

Views: 10

Leave a comment